Rehabilitation Robots

Rehabilitation Robots

โครงการนี้เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์กายภาพบำบัด (Rehabilitation Robots) เพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และผู้ป่วยที่มีอาการโรคทางระบบประสาทสำหรับแขน ขา และข้อมือแบบครบวงจร

            โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสําคัญทางสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization: WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 80 ล้านคน และพิการจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 62.5 สำหรับในประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุขพบความชุกประมาณ 690 ต่อประชากร 100,000 คน หลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้วมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 5-20 ที่มีการฟื้นตัวของรยางค์ส่วนบนอย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยร้อยละ 30-70 ยังมีอาการอ่อนแรงไม่สามารถใช้งานได้เมื่อครบ 6 เดือน ส่งผลให้ขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวันและการทํางาน กระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมและคุณภาพชีวิต

            การฟื้นฟูสมรรถภาพของรยางค์ข้างที่อ่อนแรงเพื่อช่วยให้สมองและระบบควบคุมการเคลื่อนไหวเกิดการฟื้นตัวดีขึ้นและเร็วขึ้นมีหลายวิธี การใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูก็เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ตั้งแต่ช่วงที่ยังมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการน้อยในระยะเฉียบพลัน จนถึงระยะเรื้อรัง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกการใช้งานแขนแบบซ้ำ ๆ (repetition) ได้เป็นจำนวนครั้งที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการฝึกแบบดั้งเดิม ทำให้เกิดทักษะการใช้งานแปรผันตามจำนวนครั้งที่ฝึก ร่วมกับมีระบบเกม และการให้ข้อมูลตอบกลับ (feedback) ทำให้การฝึกน่าสนใจ สนุก และท้าทาย ลักษณะดังกล่าวช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ป่วยมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการมากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ที่มีระบบตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ ทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงแรงตอบรับ รวมทั้งตำแหน่งและความเร็วในการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ นำมาสู่การติดตั้งระบบติดตามพัฒนาการของผู้ใช้เฉพาะบุคคล (Patient Progression Supervising System) ซึ่งจะบันทึกและติดตามพัฒนาการของผู้ใช้แต่ละบุคคล และปรับเปลี่ยนลักษณะการเคลื่อนไหวรวมทั้งแรงที่หุ่นยนต์สร้างขึ้นตามกำลังกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไป จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) พบว่าการใช้หุ่นยนต์ฝึกการเคลื่อนไหวของรยางค์บนร่วมกับการฟื้นฟูช่วยเพิ่มการฟื้นตัวของประสาทสั่งการและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีนัยสำคัญ

            หุ่นยนต์กายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นโครงการที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูที่มีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกที่แตกต่างกัน ระบบหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นถ้าแบ่งตามโครงสร้างก็จะประกอบด้วยหุ่นยนต์ 2 แบบ คือ 1) แบบโครงร่างหรือ Exoskeleton โดยกลไกของหุ่นยนต์จะสวมเข้ากับแขน ข้อมือ หรือขาของผู้ป่วย และ 2) แบบจับที่ปลายหรือ End-effector โดยมือผู้ป่วยจะฝึกจะจับหรือพันเข้ากับปลายแขนของหุ่นยนต์ แต่ถ้าจะแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการฟื้นฟูอวัยวะแขน ขา และข้อมือ ก็จะแบ่งได้ดังนี้

    1. Upper-limb Exoskeleton หรือ ExMotion ใช้สำหรับการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบน
    2. Lower-limb Exoskeleton หรือ Exleg ใช้สำหรับการฟื้นฟูขา
    3. Exoskeleton Wrist หรือ ExWrist ใช้สำหรับการฟื้นฟูข้อมือ
    4. Master-slave operation หรือ Exoskeleton Wrist with Bi-manipulate หรือ ExWrist with Bi-manipulate ใช้สำหรับการฟื้นฟูข้อมือ ที่สามารถทำงานในลักษณะที่ใช้ข้อมือด้านดีสอนข้อมือด้านที่มีปัญหาเพื่อให้เคลื่อนที่ตาม
    5. Upper-limb Single-plane motion แบบ End-effector หรือ EnMotion ใช้สำหรับการฟื้นฟูแขนของผู้ป่วยตามแนวระนาบ
    6. 3D End-effector หรือ 3D-EnMotion ใช้สำหรับการฟื้นฟูรยางค์ส่วนบนแบบสามมิติ

นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยในการสนับสนุนการทำโทรเวชกรรมหรือ Tele-rehabilitation ด้วย ซึ่งประกอบด้วย

    1. Wearable sensor หรืออุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถวิเคราะห์การทรงตัวและการเดิน
    2. หุ่นยนต์แบบ Home healthcare ที่ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อช่วยในการฟื้นฟูผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ Telerehabilitation Robot
Rehabilitation Robotics for Storkes, Neurological Disorder, and Paralysis or Hemiparesis patients, Home Healthcare and Telerehabilitation Robot

Infographic แสดงหุ่นยนต์และอุปกรณ์กรทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น

            หุ่นยนต์ทางการแพทย์ดังกล่าวมีการติดตั้งใช้งานจริง มีการพัฒนาและปรับปรุงมาตลอดระยะเวลากว่าสี่ปี โดยหุ่นยนต์ปัจจุบันนับเป็นหุ่นยนต์รุ่นที่ 3 และปัจจุบันนี้เราได้พัฒนาระบบควบคุมหุ่นยนต์แบบ universal controller โดยที่ระบบควบคุมนี้สามารถใช้งานได้กับหุ่นยนต์แบบต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้น ทำให้สถานพยาบาลสามารถวางแผนการจัดหาหุ่นยนต์ได้หลากหลายมากขึ้นโดยใช้งบประมาณน้อยลง และสามารถวางแผนการจัดหาหุ่นยนต์ได้ตามปริมาณผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟู นอกจากนั้นการดูแลและบำรุงรักษาหุ่นยนต์สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและถูกลง ถ้าต่อหุ่นยนต์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยให้สามารถปรับปรุงโปรแกรมการทำงานผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

            หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นมาเองทั้งหมด มีการออกแบบทางด้านวิศวกรรมเพื่อให้หุ่นยนต์มีขนาดไม่ใหญ่มาก (Compact size) เคลื่อนย้ายได้สะดวก (Ease of relocation) ใช้งานง่าย (Ease of use) เหมาะสำหรับการฝึกหลายรูปแบบ (Flexible training) และที่สำคัญคือได้รับการออกแบบทางด้านพลศาสตร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ที่ผสามผสานระหว่าง การควบคุมตำแหน่งความเร็ว และแรงช่วยที่หุ่นยนต์เสริมให้กับผู้ป่วยในขณะฝึกกับหุ่นยนต์ ระบบควบคุมทางพลศาสตร์นี้มีความปลอดภัยสูง โดยเป็นระบบควบคุมแบบ Assist as needed หรือ Active Assistive Control Strategy หรือหุ่นยนต์จะออกแรงช่วยเมื่อผู้ป่วยต้องการ นอกจากนั้น เราได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์ช่วยเสริมแรงหุ่นยนต์ทำให้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้มอเตอร์แบบ Brushless ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก กินกำลังไฟน้อย เคลื่อนย้ายได้สะดวก เพื่อสนับสนุนการนำไปติดตั้งเพื่อการฟื้นฟูที่บ้านได้ด้วย นอกจากจะใช้เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น

            การใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูมีหลากหลายรูปแบบกล่าวคือ กิจกรรมการฟื้นฟูเฉพาะโดยท่าทางการเคลื่อนที่สามารถโปรแกรมได้โดยตรงในครั้งแรกของการเริ่มการฟื้นฟูและสามารถเก็บไว้ใช้ตลอดจนจบ session ได้ โดยการฝึกปฏิบัติจะแบ่งเป็น Course และในแต่ละ course ก็จะเป็น session เช่น course หนึ่งมีใช้เวลาเวลา 20 วันหรือ 20 session เป็นต้น มีระบบบันทึกข้อมูลแบบเวลาจริงในแต่ละ session ของการฝึกปฏิบัติ ข้อมูลทั้งตัวแปรและพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึก เช่น แรงที่หุ่นยนต์ช่วย เป็นเปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบระหว่างเวลาที่คนทำเองและหุ่นยนต์ช่วยทำ ขนาดของแรงที่หุ่นยนต์ช่วยทำตลอดช่วงการฝึก ความเร็วของการเคลื่อนที่ จะถูกบันทึกไว้ตลอด session และจัดเก็บไว้ และสามารถส่งเข้าเก็บไว้ในระบบ Cloud computing ได้  ทำให้เราสามารถพัฒนาส่วนเสริมต่อหรือต่อยอดเพื่อทำให้สามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติของระบบหุ่นยนต์ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในระบบ cloud มาวิเคราะห์ผลเพื่อต่อยอดไปสู่แนวทางการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ขอกำหนดของจริยธรรมทางการแพทย์ด้วย  

            นอกจากนี้ยังมีการฝึกด้วยเกมร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งเป็นแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพที่แพร่หลายในปัจจุบัน ระบบเกมคอมพิวเตอร์จะมี 2 แบบคือ 1) เกมที่เราพัฒนาขึ้นเอง เป็นเกมที่ช่วยในการฟื้นฟูตามรูปแบบฟังก์ชัน (Functional game) ของการเคลื่อนที่ เช่น เกมรับและกันของตก เกมการตีบอลกับกำแพง เกม 8 จุดที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีการตอบสนองกับคำสั่งที่เป็น random ได้ เป็นต้น นอกจากนั้นเรายังพัฒนาส่วนเชื่อมต่อเข้า arcade game หรือเกมที่มีอยู่ในท้องตลาดที่เราสามารถเลือกมาให้เหมาะสมกับการฟื้นฟูได้

            ระบบเกมคอมพิวเตอร์ประกอบการฟื้นฟูสามารถนำเสนอเกมเพื่อกระตุ้นและจูงใจผู้ป่วยให้รับบริการในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพิ่มความเครียด พร้อมกับเป็นการลดความเบื่อหน่ายจากการฝึกนั้น จึงจำเป็นต้องหากิจกรรมทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าได้ทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเกมเข้ามาช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งระบบเกมที่ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเบื่อหน่ายและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยอยากฝึก ทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการฟื้นฟู และเกิดความต้องการในการใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้งานระบบได้นานขึ้น ช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            ระบบหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นนี้ได้คำนึงถึงมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีการทดสอบการใช้งานโดยผ่านคณะกรรมการจริยธรรมทางการแพทย์ ผ่านการรับรองมาตรฐานหุ่นยนต์ทางการแพทย์ตามมาตรฐาน IEC60601-1, IECC60601-1-2 ซึ่งเป็นมาตรฐานของหุ่นยนต์ทางการแพทย์จะต้องได้รับการรับรอง และมีการจัดตั้งโรงงานผลิตหุ่นยนต์ทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO13485 มามากกว่า 3 ปีแล้ว โดยหุ่นยนต์รุ่นต่าง ๆ จะต้องมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดหาอุปกรณ์ตามมาตรฐานทางการแพทย์ มาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เทคนิคการผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ระบบตรวจสอบคุณภาพหลังการผลิต การจัดเก็บหุ่นยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้ว ระบบความปลอดภัยของการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับตัวหุ่นยนต์ การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อบกพร่องในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นมาตรฐานที่เวลาพัฒนาหุ่นยนต์แต่ละรุ่นจะต้องคำนึงถึงตามมาตรฐาน ISO 13485 นอกจากนั้นในระบบ ISO13485 ยังต้องรวมถึงมาตรฐานการดูแลและการบริการหลังการติดตั้ง และการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานด้วย ได้มีการติดตั้งหุ่นยนต์ใช้งานจริงและมีการเก็บข้อมูลการใช้งานเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งที่สถานพยาบาลและการฟื้นฟูแบบ Home rehabilitation เป็นต้น นอกจากกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้ว เรายังได้นำไปทดสอบการใช้งานทางการแพทย์ภายใต้กรรมการจริยธรรมทางการแพทย์ด้วยคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เช่น หุ่นยนต์ Telerehabilitation เพื่อใช้ฝึกผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่บ้าน และระบบหุ่นยนต์พร้อม wearable sensor เพื่อการวิเคราะห์การทรงตัวและการเดิน ตัวอย่าง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองม่อนกระทิง โรงพยาบาลลำปาง ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองชัยภูมิ โรงพยาบาลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองหลังสวน และการใช้หุ่นยนต์  Telerehabilitation โดยติดตั้งตามบ้านผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

Functional training

Functional training with predefined movements ที่ต้องการการฟื้นฟูเฉพาะส่วนของแขน ขา และ ข้อมือ

Assist as needed

หุ่นยนต์จะช่วยในการเคลื่อนที่ให้ก็ผู้ฝึกเท่าที่จำเป็น ทำให้ผู้ฝึกมีความรู้สึกเหมือนกันเคลื่อนที่ผู้ตัวเอง และ มั่นใจในการเคลื่อนที่

Game

เพื่อเน้นเป็นท่าทาง เน้นการเคลื่อนที่อิสระมากขึ้น และ เพื่อความเพลิดเพลิน จากประสบการณ์การใช้งานหุ่นยนต์

ตัวอย่างการใช้งานของหุ่นยนต์

Traditional Training

Traditional Training

Functional Training

Functional Training

Assist as Needed

Assist as Needed

Game

Game

Traning using Rehabilitation Robot

แนวคิดของโครงการ

เป็นการออกแบบและจัดสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในกิจกรรมการฟื้นฟู เพื่อฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองซึ่งมักมีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือผู้ป่วยที่โรคทางระบบประสาท การได้รับการฟื้นฟูให้เร็วที่สุดและบ่อยครั้งที่สุดถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากในการฟื้นฟู โดยที่หุ่นยนต์ที่ใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้นมี 2 ลักษณะคือ

  1. แบบ Exoskeleton คือแบบสวมใส่ หรือ แบบโครงร่าง
  2. แบบ End-effector คือแบบจับที่ปลาย

รายละเอียดของหุ่นยนต์

ในปัจจุบันทางศูนย์วิจัยของเรามีหุ่นยนต์ประเภท Rehabilitation Robots อยู่ 6 แบบ

  1. Upper limb Exoskeleton
  2. Lower limb Exoskeleton
  3. Wrist Exoskeleton
  4. Wrist Exoskeleton with Bi-manipulate (Master-Slave Wrist) 
  5. Single Plane End-Effector for Upper-limb
  6. 3D End-effector Upper-limb for Functional Rehabilitation
Rehabilitation Robot Series
Universal Controller of Rehabilitation Robot

การพัฒนา Universal Controller

      ในปัจจุบันทางศูนย์วิจัยของเราทำการพัฒนาระบบหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Universal Controller ซึ่งคือการใช้งานกล่องควบคุมเพียงกล่องเดียวในการควบคุมหุ่นยนต์ทุกรูปแบบของเรา

      หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูรุ่นใหม่จะใช้ Universal Controller สนับสนุนการทำงานของหุ่นยนต์หลากหลายรูปแบบทั้งในแบบของ Exoskeleton และ Multi-plane End-effector ระบบควบคุมการทำงานเป็นแบบ Assist-as-needed Control พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานในแบบ Bi-manipulate โดยข้อดีของ Universal Controller มีดังนี้

  1. ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการจัดหาหุ่นยนต์ได้หลากหลายมากขึ้นโดยใช้งบประมาณน้อยลง และสามารถวางแผนการจัดหาหุ่นยนต์ได้ตามปริมาณผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟู
  2. ทำให้การทดสอบมาตรฐานต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งแต่เดิมระบบควบคุมของหุ่นยนต์มีความแตกต่างกัน เช่นการทดสอบมาตรฐาน IEC 60601-1 โดยระบบควบคุมแบบ Universal controller ได้ผ่านมาตรฐานทางไฟฟ้า IEC 60601-1-2
  3. ทำให้ระบบการดูแลและบำรุงรักษาหุ่นยนต์สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. การมี Universal controller ยังสนับสนุนการบริการการเช่าใช้หุ่นยนต์

จุดเด่นของโครงการ

Compact Size

เคลื่อนย้ายง่าย มีกำลังที่เหมาะสมกับการฟื้นฟู สามารถปรับการทำงานให้ได้หลากหลาย

Repetition

ฝึกการใช้งานร่างกายแบบซ้ำๆ ได้จำนวนครั้งมากกว่าเมื่อเทียบกับการฝึกแบบดั้งเดิม 

Universal Controller

สามารถใช้ controller box ตัวเดียว ในการควบคุมหุ่นยนต์ทั้งหมด เพื่อลดค่าใช้จ่าย

หุ่นยนต์ประเภท Rehabilitation Robots

ในปัจจุบันทางศูนย์วิจัยของเรามีหุ่นยนต์ประเภท Rehabilitation Robots อยู่ 6 แบบ

Technology

Robotics
Cloud

ระบบควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์เป็นระบบที่เราพัฒนาขึ้นเอง และมีการทำงานในลักษณะ Assist as needed หมายความว่าหุ่นยนต์จะช่วยในการเคลื่อนที่ให้ก็ผู้ฝึกเท่าที่จำเป็น เป็นการผสมผสานกันระหว่างการควบคุมแรงและการควบคุมการเคลื่อนที่ ทำให้ผู้ฝึกมีความรู้สึกเหมือนกันเคลื่อนที่ผู้ตัวเอง ทำให้มีความมั่นใจในการเคลื่อนที่  นอกจากนั้นยังมีการฝึกด้วยเกมร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพที่แพร่หลายในปัจจุบัน ระบบเกมคอมพิวเตอร์ประกอบการฟื้นฟูสามารถนำเสนอเกมเพื่อกระตุ้นและจูงใจผู้ป่วยให้รับบริการในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพิ่มความเครียด พร้อมกับเป็นการลดความเบื่อหน่ายจากการฝึกนั้น จึงจำเป็นต้องหากิจกรรมทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าได้ทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการนำเกมเข้ามาช่วยสร้างแรงจูงใจในการฝึกจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งระบบเกมที่ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเบื่อหน่ายและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยอยากฝึก ทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการฟื้นฟู และเกิดความต้องการในการใช้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้งานระบบได้นานขึ้น ช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

หุ่นยนต์สามารถเก็บข้อมูลผ่านระบบ cloud เพื่อให้แพทย์ และผู้ฝึกสามารถติดตามผลการฝึก และความก้าวหน้าของการฟื้นฟูได้อย่างเรียลไทม์ และต่อเนื่อง หุ่นยนต์ทุกตัวที่ติดตั้งใช้งานอยู่ตามศูนย์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลหรือเครือข่ายผ่านระบบ 4G/5G (ในกรณีหลังนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ) ทำให้ข้อมูลการฝึกปฏิบัติที่หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถบันทึกขึ้นระบบ cloud เพื่อให้ในการวิเคราะห์และประเมินผลต่อไป

This center was established in 1993 by Prof.Viboon Sangveraphunsiri.

© 2022 Created with Royal Elementor Addons

Tel: +66(0) 2 – 218 – 6449

Line: @haxter.robotics

Contacts

ตึกโคลัมโบ ชั้น 1 – 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

 

2nd floor Columbo building, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University

254, Paya Thai road, Wang Mai, Pathum Wan, Bangkok, 10330